วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 4

แบบฝึกหัด

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ นายปรีดี พนมยงค์
 เหตุผล คือ ต้องการให้คนในประเทศเป็นอยู่มีระบบ และต้องการให้มีการจัดการศึกษา
ประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา คือ ให้สิทธิเสรีภาพกับทุกคนในการศึกษา โดยไม่บังคับการศึกษา รัฐธรรมนูญฉบับแรกเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7   ซึ่งผู้รับสนองราชโองการคือ พระยามโนปกรณนิติธาดา

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  คือ
           หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
           มาตรา 36 บุคคลยอ่ มมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่า ด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
            หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
            มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
            หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
            มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็ นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
             มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบา รุงการศึกษาอบรม การจดัระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
             มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือใหม้ีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
             มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
ตอบ   การศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช   2511 2517 2521  มีความแตกต่างกัน ดังนี้
            พุทธศักราช 2511  เกี่ยวกับการศึกษาคือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพสมบูรณ์เกี่ยวกับการศึกษา เมื่อการศึกษาอบรมนั่นไม่เป็นปรปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรม และไม่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรสถานศึกษา
           พุทธศักราช 2517  การศึกษาเริ่มเปลี่ยนไปเพราะทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีชนในการศึกษาเท่าเทียบเสมอกันในการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการบังคับ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม เมื่อไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ และการจัดตั้งสถานศึกษา
            พุทธศักราช 2521 การศึกษาเริ่มมีการส่งเสริมบำรุงการศึกษาการอบรมและฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภาคใต้การควบคุมดูแลของรัฐ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆในการศึกษา


4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ    การศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช 2475-2490 และ พุทธศักราช 2549-2517 มีความแตกต่างกัน ดังนี้
พุทธศักราช 2475-2490 คือ การศึกษาขึ้นอยู่กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยมีการควบคุมการศึกษาโดยหน่วยงานต่างๆ แต่ให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมาย แต่ก็จำเป็นต้องศึกษา
พุทธศักราช 2549-2517 คือ การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอน และมีบทลงโทษสำหรับบุคคลที่ไม่สนใจในการศึกษา

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   มีความต่างกันโดยในประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534
คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ สนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
            ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550
คือ รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน และส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ    สาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องระบุในประเด็นการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงก็เพราะรัฐธรรมนูญต้องการให้การศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบ และต้องการให้มีการศึกษาที่สอดคล้องกันและมีการบังคับการศึกษาที่แน่นอนเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบในด้านต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา นี่คือประเด็นที่รัฐธรรมนูญต้องจัดประเด็นการศึกษาอย่างเป็นทางการและมีทุกพุทธศักราชที่พูดเกี่ยวกับการศึกษา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด“บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ    เหตุผลที่รัฐบาลต้องกำหนด บุคคลให้มีการศึกษา ก็เพราะ ต้องการให้คนมีการศึกษาติดตัวไป และต้องการให้มีความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพและการทำงาน
            หากรัฐไม่กำหนดบุคคลให้มีการศึกษา ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำและมีปัญหาในการทำงานหรือหน่วยงานต่างๆไม่ยอมรับบุคคลที่ขาดความรู้เข้าทำงานในสถานที่ต่างๆหรือพูดเป็นภาษาบ้านๆว่าทำให้คนโง่หากรัฐไม่กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่จะต้องศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องคก์รปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่า เป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ    รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และหากเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คิดการศึกษาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เพราะองค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถตีโจทย์ความต้องการของประชาชนหรือความต้องการของลูกหลานได้ว่าต้องการศึกษาในรูปแบบใด นี่คือส่วนหนึ่งที่ดีในการจัดการให้องค์กรมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคท้ังหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ    สำหรับสาเหตุที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการศึกษาให้เท่าเทียบกันก็เพราะว่า รัฐต้องการเห็นคนทุกประเภทมีความรู้ความสามารถในทุกระดับโดยไม่ตั้งข้อแบ่งแยกกับทุกคนที่ขาดทุนในการศึกษา และประเด็นที่สำหรับที่รัฐต้องทำเพราะรัฐต้องการให้การศึกษาของไทยและคนไทยมีความรู้ ความสามัคคีกันในทุกๆระดับการศึกษา

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ทำให้ประเทศเป็นระบบระเบียบและมีกฎหมายเอาผิดสำหรับบุคคลที่ทำผิดกฎหมาย จึงทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างง่ายดายและมั่นคงมีการศึกษาที่เน้นให้คนในประเทศมีการศึกษาที่แน่นอน  และมีการบังคับให้การศึกษาอยู่ในระดับใด  ดั้งนั้นการพัฒนาประเทศจะเริ่มต้นได้จาก ผู้ปกครองประเทศร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ หากพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งอีกด้านก็จะดีไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น