วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 5

แบบฝึกหัด

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 
ก.การศึกษา ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. การศึกษาตลอดชีวิต ง. มาตรฐานการศึกษา 
จ. การประกันคุณภาพภายใน ช. การประกันคุณภาพภายนอก ซ. ผู้สอน ฌ. ครู
ญ.คณาจารย์ ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา ฒ. ผู้บริหารการศึกษา ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ    ก.การศึกษา
            “การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองคค์วามรู้อัน เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
            ซึ่งอธิบายความด้วยการตอบคำถาม คือ
            การศึกษาคืออะไร ตอบ คือ กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
            เรียนรู้เพื่ออะไร ตอบ คือ เพื่อความเจริญของบุคคลและสังคม
            เรียนรู้อย่างไร ตอบ คือเรียนรู้โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ถ่ายทอดความรู้ฝึก อบรม สั่งสอน สังเกต วิเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ สืบสาน สร้างสรรค์ จากบุคคล สื่อ ปัจจัยและ
สภาพแวดล้อมเป็นต้น (คำหมาน คนไค, 2543, 28)      
             ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
             “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
             ค. การศึกษาตลอดชีวิต
             “การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย 
             ง. มาตรฐานการศึกษา 
            “มาตรฐานการศึกษา” หมายความว่า ข้อกำ หนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสา หรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกนัคุณภาพทางการศึกษา
             จ. การประกันคุณภาพภายใน 
             “การประกันคุณภาพภายใน” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น เอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
             ช. การประกันคุณภาพภายนอก 
             “การประกันคุณภาพภายนอก” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
             ซ. ผู้สอน 
            “ผู้สอน” หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับ ต่าง ๆ
             ฌ. ครู
            “ครู” หมายความวา่ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาท้ั้งของรัฐและเอกชน
            ซึงอธิบายสมาน คนได (2543,29) กล่าวว่า ครู มีองค์ป ระกอบ 2 อย่างคือ
1. ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน
2. ทำหน้าที่นั้น ในสถานศึกษา (ที่สอนต่ำ ว่า ปริญญา)
             ญ.คณาจารย์ 
             “คณาจารย์” หมายความวา่ บุคลากรซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการสอนและการวิจัยใน
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
             ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา 
            “ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
             ฒ. ผู้บริหารการศึกษา 
“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับ เขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
             ณ. บุคลากรทางการศึกษา
             “บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษารวมท้ั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำ หน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับ การจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง
ตอบ    หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
            ความมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษา (มาตรา 6-มาตรา 9)
            1. ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6)
                การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
            2. กระบวนการเรียนรู้(มาตรา 7)
                กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เสรีภาพความเคารพกฎหมายความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนาศิลปะวัฒนธรรมของชาติการกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพรู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ดว้ยตนเองอย่างต่อเนื่อง
           3. หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหเ้ป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหเ้ป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ     การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดั้งนี้(มาตรา 9)
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองคก์รปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลกัการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ        หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
                มีสาระสำคัญของหมวดนี้มีดังนี้(มาตรา 10-14) (ค าหมาน คนไค, 2543, 31)
1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีอย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย(FreeEducation) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีควาสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องคก์รชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการสถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้น พื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่ว ไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดงักล่าวมีสิทธิไดร้ับการสนบั สนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจดัการศึกษาได้3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซ่ึงท้งั 3 รูปแบบน้ีสามารถเทียบโอนกนัได้
          2. การจดัการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดบัคือการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดบัอุดมศึกษา มี2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำ กว่า ปริญญา
           3. การศึกษาภาคบังคับ มีกา หนด9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้น ปีที่9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
           4. การจดัการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้น พื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ 
(1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
           5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายว่า ด้วยอาชีวศึกษา
           6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวสิาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชา นาญของหน่วยงาน โดยคา นึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามทหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กา หนดในกฎกระทรวง

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
          2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือการศึกษาขั้น พื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายหรืออย่า งอื่นที่กา หนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่า กวา่ ปริญญา
          3. การศึกษาภาคบงัคบั มีกา หนด9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบตอ้งเขา้เรียนในสถานศึกษาข้นั พ้ืนฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เวน้แต่สอบไดช้้นั ปีที่9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กา หนดในกฎกระทรวง
          4. การจัดการศึกษาปฐมวยัและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ 
(1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
          5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายว่า ด้วยอาชีวศึกษา
          6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชา นาญของหน่วยงาน โดยคา นึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติท้งัน้ีตามทหลกัเกณฑ์วธิีการและเงื่อนไขที่กา หนดในกฎกระทรวง

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง การกระจายอำนาจดังกล่าว จะทำให้สถานศึกษาคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ ตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based management: SBM) ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
             จากหลักการดังกล่าว จึงกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลโดยได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2546 ในมาตรา 35 ว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา 34 (2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ    ยึดหลักว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ ที่สุด
และต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัดความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู   ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ    เห็นด้วยเพราะคนที่จะมาทำหน้าที่ในฐานะครูจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพราะครู คือ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาท้ั้งของรัฐและเอกชน 
            หากไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพแล้วการเรียนการสอนก็ได้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ     ร่วมขอรับบริจาคทรัพย์สิน ระดมทรัพยากรจากชาวบ้าน ภายในชุมชนโดยจะนำมาใช้ในการจัดการศึกษา

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไ
ตอบ     1.ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหา การจัดหา การเลือกใช้และการประเมินคุณภาพสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนและการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา
             2.จัดหาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการพัฒนางานด้านวิชาการ
             3.เลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ผ่านการประเมินคุณภาพทางวิชาการ จากคณะกรรมการของสถานศึกษา
             4.ผลิต พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งประเมินคุณภาพสื่อฯเพื่อเลือกใช้ประกอบการเรียนการสอน

อนุทิน 4

แบบฝึกหัด

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ นายปรีดี พนมยงค์
 เหตุผล คือ ต้องการให้คนในประเทศเป็นอยู่มีระบบ และต้องการให้มีการจัดการศึกษา
ประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา คือ ให้สิทธิเสรีภาพกับทุกคนในการศึกษา โดยไม่บังคับการศึกษา รัฐธรรมนูญฉบับแรกเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7   ซึ่งผู้รับสนองราชโองการคือ พระยามโนปกรณนิติธาดา

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  คือ
           หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
           มาตรา 36 บุคคลยอ่ มมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่า ด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
            หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
            มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
            หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
            มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็ นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
             มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบา รุงการศึกษาอบรม การจดัระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
             มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือใหม้ีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
             มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
ตอบ   การศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช   2511 2517 2521  มีความแตกต่างกัน ดังนี้
            พุทธศักราช 2511  เกี่ยวกับการศึกษาคือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพสมบูรณ์เกี่ยวกับการศึกษา เมื่อการศึกษาอบรมนั่นไม่เป็นปรปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรม และไม่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรสถานศึกษา
           พุทธศักราช 2517  การศึกษาเริ่มเปลี่ยนไปเพราะทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีชนในการศึกษาเท่าเทียบเสมอกันในการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการบังคับ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม เมื่อไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ และการจัดตั้งสถานศึกษา
            พุทธศักราช 2521 การศึกษาเริ่มมีการส่งเสริมบำรุงการศึกษาการอบรมและฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภาคใต้การควบคุมดูแลของรัฐ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆในการศึกษา


4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ    การศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช 2475-2490 และ พุทธศักราช 2549-2517 มีความแตกต่างกัน ดังนี้
พุทธศักราช 2475-2490 คือ การศึกษาขึ้นอยู่กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยมีการควบคุมการศึกษาโดยหน่วยงานต่างๆ แต่ให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมาย แต่ก็จำเป็นต้องศึกษา
พุทธศักราช 2549-2517 คือ การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอน และมีบทลงโทษสำหรับบุคคลที่ไม่สนใจในการศึกษา

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   มีความต่างกันโดยในประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534
คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ สนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
            ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550
คือ รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน และส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ    สาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องระบุในประเด็นการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงก็เพราะรัฐธรรมนูญต้องการให้การศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบ และต้องการให้มีการศึกษาที่สอดคล้องกันและมีการบังคับการศึกษาที่แน่นอนเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบในด้านต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา นี่คือประเด็นที่รัฐธรรมนูญต้องจัดประเด็นการศึกษาอย่างเป็นทางการและมีทุกพุทธศักราชที่พูดเกี่ยวกับการศึกษา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด“บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ    เหตุผลที่รัฐบาลต้องกำหนด บุคคลให้มีการศึกษา ก็เพราะ ต้องการให้คนมีการศึกษาติดตัวไป และต้องการให้มีความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพและการทำงาน
            หากรัฐไม่กำหนดบุคคลให้มีการศึกษา ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำและมีปัญหาในการทำงานหรือหน่วยงานต่างๆไม่ยอมรับบุคคลที่ขาดความรู้เข้าทำงานในสถานที่ต่างๆหรือพูดเป็นภาษาบ้านๆว่าทำให้คนโง่หากรัฐไม่กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่จะต้องศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องคก์รปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่า เป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ    รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และหากเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คิดการศึกษาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เพราะองค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถตีโจทย์ความต้องการของประชาชนหรือความต้องการของลูกหลานได้ว่าต้องการศึกษาในรูปแบบใด นี่คือส่วนหนึ่งที่ดีในการจัดการให้องค์กรมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคท้ังหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ    สำหรับสาเหตุที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการศึกษาให้เท่าเทียบกันก็เพราะว่า รัฐต้องการเห็นคนทุกประเภทมีความรู้ความสามารถในทุกระดับโดยไม่ตั้งข้อแบ่งแยกกับทุกคนที่ขาดทุนในการศึกษา และประเด็นที่สำหรับที่รัฐต้องทำเพราะรัฐต้องการให้การศึกษาของไทยและคนไทยมีความรู้ ความสามัคคีกันในทุกๆระดับการศึกษา

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ทำให้ประเทศเป็นระบบระเบียบและมีกฎหมายเอาผิดสำหรับบุคคลที่ทำผิดกฎหมาย จึงทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างง่ายดายและมั่นคงมีการศึกษาที่เน้นให้คนในประเทศมีการศึกษาที่แน่นอน  และมีการบังคับให้การศึกษาอยู่ในระดับใด  ดั้งนั้นการพัฒนาประเทศจะเริ่มต้นได้จาก ผู้ปกครองประเทศร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ หากพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งอีกด้านก็จะดีไปด้วย

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 3

แบบฝึกหัด

1.ท่านคิดว่ามนุษย์ทำไมต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ  กฎหมายมีความจำเป็นมากต่อการดำรงค์ชีวิตประจำวันของมนุษ์มาก  เพราะหากไม่มีกฎหมายแล้วสังคมก็จะวุ่นวาย  ก่อให้เกิดความขัดแย้ง  มีการทะเลาะ ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นไม่จบไม่สิ้น

2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมปัจจุบันคงจะอยู่ไม่ได้  ดังคำที่ว่าที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมายและถ้าไม่มีกฎหมายสังคมคงจะวุ่นวาย  ก่อให้เกิดความขัดแย้ง  มีการทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นไม่จบไม่สิ้น

3.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ   ก. ความหมาย
          คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

          ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
          ประชาชนที่อยู่ร่วมกันในอาณาเขตเดียวกัน   และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง  พอที่จะสรุปได้ว่า  ลักษณะหรือองค์ประกอบไว้  3  ประการ  คือ
1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ  อันมิใช่คำวิงวอน  ประกาศ  หรือแถลงการณ์
3. ใช้บังคับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค
4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

          ค. ที่มาของกฎหมาย
         ประเทศไทยพอที่จะสรุปได้  5  ลักษณะดังนี้
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
2. จารีตประเพณี
3. ศาสนา
4.คำพิพากษาของศาล
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์

          ง.  ประเภทของกฎหมาย
         จะเแบ่งเป็นกฎหมายภานในและกฎหมายภายนอกหรือกฎหายระหว่างประเทศ
          กฎหมายภายใน
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
3. กฎหมายสารบัญัติ
4. กฎมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
         กฎหมายภายนอกหรือกฎหายระหว่างประเทศ
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนคดีอาญา

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย  จงอธิบาย
ตอบ  ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ

5. สภาพบังคับทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯนั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯในคราวเดียวกันก็ได้
         แต่กฎหมายบางอย่างก็อาจไม่มีสภาพบังคับก็ได้ เนื่องจากไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่อาจบัญญัติขึ้นเพื่อรับรองสิทธิให้แก่บุคคล หรือทำให้เสียสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม หรือบุคคลที่มีอายุ 15 ปีแล้วสามารถทำพินัยกรรมได้ ฯลฯ หรือออกมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ซึ่งกฎหมายประเภทนี้จะไม่มีโทษทางอาญาหรือทางแพ่งแต่อย่างใด

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง  มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม
        กฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่ง คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว ดังนี้ การหมั้น เป็นการที่หญิงชายตกลงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบทรัพย์อันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง แต่ในการสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะมีการหมั้นก่อน แต่ถ้าหมั้นก็จะมีผลผูกพันกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น เช่น ของหมั้นจะตกเป้นสิทธิแก่หญิงทันที เมื่อมีการหมั้นแล้ว ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายเป็นต้น

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  ระบบกฎหมายมี 2 ระบบ คือ

          1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเภณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
           2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์ ควบคู่กันไป

8. ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้างจงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
ตอบ  ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
 ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
    ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
    กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
    กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
    กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
    กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง ความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฏหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมายคือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. พระราชบัญญัติ
4. พระราชกำหนด
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10.เหตุการณ์เมื่อวันที่  24 พฤศจิกายน  2555 มีเหตุการณ์ชุมนมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฎว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ รัฐบาลกระทำผิดเพราะว่าในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
และสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

12. ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ การปฏิรูปการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้น คณะผู้ดำเนินการได้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูป เพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่ของครูเป็นอย่างมาก โดยได้แยกเรื่องของครูไว้อีกหมวดหนึ่งโดยเฉพาะ คือ เรื่องในหมวด 7 ว่าด้วยเรื่องของครู มีการพูดถึงว่าจะให้ครูนั้นเป็นบุคลากรวิชาชีพชั้นสูง   ความหมายของวิชาชีพชั้นสูงนั้นหมายความว่า ไม่ว่าใครก็ได้มาเป็นครู ต้องมีการศึกษา มีการเรียนรู้ มีการพัฒนา และจำเป็นต้องได้รับใบประกอบวิชาชีพนั้นโดยเฉพาะ โดยหวังว่าเมื่อเราพัฒนาครูขึ้นเป็นวิชาชีพชั้นสูงได้แล้วสิ่งต่างๆ ที่เคยตกหล่นหายไปก็จะกลับมา เพราะว่าอาชีพอื่นๆ ที่มีใบประกอบวิชาชีพนั้น ก็ไม่มีอาชีพใดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับครู เพื่อให้ครูได้รับการยกย่องเป็นวิชาชีพชั้นสูงจึงมีเรื่องต่างๆ



วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 2

กลุ่มที่  3
เรื่อง แก๊งค์ซิ่ง ป่วนเมือง



       สาเหตุหลักๆ  คือ  ครอบครุัวไม่มีเวลาให้  หรือผู้ปกครองอาจจะตามใจลูกหรือบุตรหลานในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง   บางคนอาจจะมีใจรักในเรื่องการซิ่งรถจริงๆ  หรืออาจจะเป็นเพียงค่านิยมต่างๆ  เช่น  ตามเพื่อน  ชอบโอ้อวด  ชอบท้าทาย   และสาเหตุอีกอย่างที่สำคัญคือ  กฎหมายไม่เข็มแข่งพอ  ซึ่งบางคนพ่อแม่มีชื่อเสียงจงไม่สามารถเอาผิดกับลูกของตนเองได้ 

       ข้อดีของการซิ่งรถคือ  ถ้าหากมีการขับขี่รถในทิศทางที่เหมาะสม   สถานที่เหมาะสมก็อาจจะสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ที่มีใจรักในการซิ่งรถจริงๆ

       ข้อเสียของการซิ่งรถนั้นมีมากมาย  เช่น  การสร้างความเดือนให้แก่ผู้อื่น  การทำให้ครอบครัวเดือดร้อน   ทำให้กิดการลักขโมย  จนกลายเป็นฆาตกรได้โดยไม่รู้ตัว     ทำให้เกิดการสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์  และยังทำให้เสียการเรียนจนทำให้นักเรียนเสียอนาคตได้

        การแก้ปัญหาคือ  รถทุกคันต้องมีการคุมครองตามกฎหมายโดยกำหนดให้รถทุกคัน  เป็นรถที่คงสภาพคือคงมาตรฐานของรถที่ออกมาจากโรงงาน  เช่น  ท่อ  หรือเครื่องเสียง   หรือถ้าคนไหนที่ต้องการหรือรักในการซิ่งรถจริงๆก็ต้องมีการชักจูงในทางที่ถูกต้อง  เช่น  หากมีการแข่งรถจริงควรเป็นสถานที่ที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน   เช่นสนามแข่งรถ

        ถ้าเราเป็นครูควรให้คำแนะนำเด็กอย่างไร   คือเราจะบอกถึงโทษของการแข่งรถและถ้าเกิดนักเรียนชอบจริงๆควรจะไปแข่งกันในสนามแข่งจริงๆเพราะมันจะปลอดภัยและจะไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 1

ให้นักศึกษาแนะนำตัวเอง
ชื่อ  นางสาวศิริรัตน์   ช่วยตั้ง    ชื่อเล่น เมย์   รหัส  5411103067

ประวัตินักศึกษา
เกิดวันที่  20  กัยายน  2535  อาศัยยู่บ้านเลขที่  50/1 หมู่ 2  ตำบล บางพระ  อำเภอ  ปากพนัง   จังหวัด  นครศร๊ธรรมราช  80140   จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนสตรีปากพนัง  ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์  หลักสูตร คณิตศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช   อาหารจานโปรด ข้าวไข่เจียว  ชอบสี ฟ้า-ชมพู  มีพี่น้อง 3 คน  ดิฉันเป็นคนที่ 2  นิสัยเป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงออก  

ปรัชญาชีวิต  ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
รูปถ่าย