วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค

คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน

 1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง      ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ.
ตอบ  กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีทั้งที่เหมือนกันและความต่างกันคือ กฎหมายทั่วไปนั้นจะเป็น กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น  ตัวอย่างเช่น การยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า  18  ปี และเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารเมื่ออายุ  21  ปี
       กฎหมายการศึกษากฎหมาย คือ  บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้  ตัวอย่างเช่น บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ       การศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ สรุปสาระสำคัญ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ละฉบับ ที่เกี่ยวกับการศึกษา พบว่า นับตั้งแต่ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแกไข้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกันและจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปีรัฐจะต้องจัดอย่างทั่ว ถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ 
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ 20 มาตรา มีความสำคัญคือเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับที่ต้องการให้เด็กได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ  มาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา  กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา  มารดา  หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี  โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ  จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา  เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร  ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ  ตามมาตรา  46  ห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมใบอนุญาตในสถานศึกษาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา  มิเช่นนั้นจะมีบทลงโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ  มาตรา ๔๑ ผู้ใดพบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กให้รีบแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตามมาตรา ๒๔ ได้รับแจ้งเหตุ,ตามวรรคหนึ่ง หรือเป็นผู้พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่า มีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในสถานที่ใด ให้มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็ก จากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุดการแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้ เมื่อได้กระทำโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครองมาตรา ๔๒ การดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง ต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรต้องสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก ก็อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนได้หรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็ให้พิจารณาให้การสงเคราะห์ตามมาตรา ๓๓ และถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจก็ให้รีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู  การส่งเด็กไปสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือสถานที่อื่นใดตามวรรคหนึ่ง ระหว่างการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสม ให้กระทำได้ไม่เกินเจ็ดวัน แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา ๕ เพื่อมีคำสั่งขยายระยะเวลาออกไปรวมแล้วไม่เกินสามสิบวันก็ได้และจะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่น

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  การที่ครูจะพานักเรียนออกนอกสถานศึกษาจะต้องมีใบขออนุญาตจากผู้ปกครองและ
ได้พบเห็นเด็กนักเรียนที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดที่และครูก็ได้เยี่ยมเยียน ให้คำปรึกษา และแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการอบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูเด็กที่อยู่ในการกำกับดูแล

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป

ตอบ    การจัดการเรียนการสอนโดยใช้  เว็บล็อก (weblog)  นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะว่า เราสามารถที่จะเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่จำเป็นต้องมานั่งเรียนอยู่ในห้องเพียงอย่างเดี่ยว   ครูและนักเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้  เว็บล็อก (weblog)  ซึ่งปัจจุบัน เว็บล็อก (weblog)  ถือได้ว่าเป็นสื่อการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่นักเรียนนักศึกษาทุกคนต้องเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 10

ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมือใด
ตอบ  9 ตุลาคม 2546

2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
ตอบ  นายกรัฐมนตรี

3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
ตอบ   1. ทำให้กฎหมายแม่บทกำหนดอ่านง่าย เข้าใจง่าย เพราะมีแต่หลักการใหญ่ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
           2. ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายแม่บท ที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณารายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารไปกำหนดได้เอง
            3. พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไขให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่ายกว่ากฎหมายแม่บท ทั้งนี้ เพราะกฎหมายแม่บทจะต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลหลายฝ่าย
            4. ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาลเวลาอยู่เสมอ เพราะถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก็เพียงแต่แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขตัวกฎหมายแม่บท

4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ 8 หมวด  53 มาตรา

5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
ตอบกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ   ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น   มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
 มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 

ตอบ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติเเละสำนักงานงบประมาณ

7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
ตอบพิจารณาภายใน 90 วันนับตั้งเเตาวันที่เเถลงนโยบาย

8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
ตอบกำหนดให้จัดทำแผน 4 ปี

9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
ตอบสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติ สำนักงานงบประมาณเเละคณะผู้ประเมินอิสระ

10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
ตอบคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 9

ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและตอบคำถามต่อไปนี้

1.มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
ตอบ  เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้   ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้   เด็ก  เด็กเร่ร่อน  เด็กกำพร้า  เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก     เด็กพิการ  เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  นักเรียน  นักศึกษา   บิดามารดา  ผู้ปกครอง  ครอบครัวอุปถัมภ์ การเลี้ยงดูโดยมิชอบ   ทารุณกรรม  สืบเสาะและพินิจ  สถานรับเลี้ยงเด็ก  สถานแรกรับ   สถานสงเคราะห์  สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ  
ตอบ  “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้      “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้       “เด็กพิการ” หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้น จะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง       “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง       “นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน       “นักศึกษา” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน       “บิดามารดา” หมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่       “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพนายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย       “ครอบครัวอุปถัมภ์” หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร       “การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ ที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก       “ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม      “สืบเสาะและพินิจ” หมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมายและหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น       “สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน       “สถานแรกรับ” หมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย      “สถานสงเคราะห์” หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป      “สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ” หมายความว่า สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ

3.คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
ตอบ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ ไม่น้อยกว่าเจ็ดปี วิชาชีพละสองคน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการเด็กมาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีอีกสองคน โดยมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามคณะกรรมการจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้

4.กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้างตอบ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกันมาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) รัฐมนตรีให้ออก(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย(๖) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ(๗) ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้ตอบ การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการ ดังต่อไปนี้(๑) ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน(๒) ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม(๓) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก(๔) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก(๕) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบมาตรา ๒๖ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้(๑) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก(๒) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว(๕) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก(๖) ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก(๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก(๘) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า(๙) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด(๑๐) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์

7.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
ตอบ มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็กหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบมาตรา ๒๘ ในกรณีผู้ปกครองตกอยู่ในสภาพไม่อาจให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือผู้ปกครองกระทำการใดอันน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพหรือขัดขวางต่อความเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบ หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือป้องกันมิให้เด็กได้รับอันตรายหรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้การสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามพระราชบัญญัตินี้มาตรา ๒๙ ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวด ๓ และหมวด ๔ จะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า8.เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์ตอบ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่(๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า(๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง(๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท(๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล(๕) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ(๖) เด็กพิการ(๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก(๘) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๓๓ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ได้รับแจ้งจากบุคคลตามมาตรา ๒๙ หรือพบเห็นเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา ๓๒ ให้พิจารณาให้การสงเคราะห์ตามวิธีการที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้(๑) ให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้สามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้ตามมาตรา ๒๓(๒) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเดือน ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตาม (๑) ได้(๓) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(๔) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ(๕) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ(๖) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์(๗) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือส่งเด็กเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ศึกษา หรือฝึกหัดอาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู

9.เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
ตอบ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่(๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม(๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด(๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

10.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวืิธีการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไรตอบ มาตรา ๖๓ โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสมความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๖๔ นักเรียนและนักศึกษาต้องแต่งกายตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๖๕ นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดและมีอำนาจนำตัวไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ ในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้เมื่อได้อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่งการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้กระทำเท่าที่สมควรเพื่อการอบรมสั่งสอนตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ดังต่อไปนี้(๑) สอบถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษานิสัยและสติปัญญาของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนมาตรา ๖๔(๒) เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าวอบรมสั่งสอนต่อไป(๓) ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา(๔) เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน หรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนมาตรา ๖๔ อีก(๕) สอดส่องดูแลรวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหรือแหล่งที่ชักจูงนักเรียนหรือนักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ(๖) ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหมวดนี้มาตรา ๖๗ ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนหรือนักศึกษา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการเพื่อทำการตรวจสอบการฝ่าฝืนดังกล่าวได้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวก่อนและให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควรบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง  มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๕) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้นการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไปมาตรา ๘๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๘๒ ผู้ใดจัดตั้งหรือดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา ๕๒ โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอนหรือหมดอายุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ยื่นคำขออนุญาตหรือยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไปมาตรา ๘๓ เจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ดำเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ แล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไปมาตรา ๘๔ ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟูโดยมิได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๘๕ ผู้ใดกระทำการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา ๖๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๘๖ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12.ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฉบับ
ตอบ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)
x

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 8

ให้นักศึกษาอ่านรายละเอียดของ พรบ.เงินเดือนเงินวิทยะฐานฯ แล้วตอบคำถาม 1 พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใดตอบ วันที่  21  ธันวาคม  2547

 ตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554  ข้อใดไม่ใช่เงินเดือน
ตอบ   เงินวิทยฐานะ  และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน

3 คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไรตอบ ไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่บังคับใช้อยู่


4 ได้ รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู คศ.1 และรับเงินเดือนเท่าไร
ตอบ  การบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือน  7040 บาท ครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู คศ.1 จะได้รับเงินเดือน  10770 บาท

อนุทิน 7

ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  แล้วตอบคำถาม
1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด 
ตอบ  ประกาศ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้ 12 มิถุนายน 2546

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง 
ตอบ ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น

3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง 
ตอบ  กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
     ออกและเพิกถอนใบอนุญาต
     กำหนดนโยบาย  ประสานส่งเสริมการศึกษาวิจัย

4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
ตอบ  15 ข้อ คือ
     ออก พัก เพิกถอนใบอนุญาต / รับรองปริญญา วุฒิบัตร ความรู้ประสบการณ์ / ออกข้อบังคับคุรุสภา / ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ครม.เกี่ยวกับนโยบายหรือการพัฒนาวิชาชีพ

5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด 
ตอบ   5 รายการ คือ   ค่าธรรมเนียม   เงินอุดหนุน ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
มีผู้อุทิศให้ ดอกผล

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน 
ตอบ   39 คน ประธานมาจาก ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย

7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย 
ตอบ มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี / ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ

8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
ตอบ ข้อ สำคัญ คือ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ 
ตอบ  17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา พิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน

10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ตอบ  ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ –ไม่เกิน 65 ปี

11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน

12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
ตอบ   อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิทางการศึกษา / ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด

13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร 
ตอบ  อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน

14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
ตอบ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ / มาตรฐานการปฏิบัติงาน / มาตรฐานการปฏิบัติตน

15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
ตอบ จรรยาบรรณต่อตนเอง , ต่ออาชีพ ,ต่อผู้รับบริการ , ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ,ต่อสังคม

16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
ตอบ  ยก/ตัก/ภาค/พัก/เพิก คือ ยกข้อกล่าวหา / ตักเตือน / ภาคทัณฑ์ / พักใช้ใบอนุญาต ไม่เกิน 5 ปี / เพิกถอนใบอนุญาต

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
ตอบ   2 ประเภท คือ สามัญและกิตติมศักดิ์(เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์

18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
ตอบ  5 วิธี คือ ตาย/ลาออก/คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้น/ถอดถอนกิตติมศักดิ์/ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
ตอบ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน 
ตอบ 23 คน รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร 
ตอบ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ตอบ   จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
ตอบ  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ตอบ   ต่อ/แทน , รอง , นาญ , ขึ้น = 200 , 300 , 400 . 500 บาท หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต 200 บาท , ใบรับรอง 300 บาท , แสดงความชำนาญการ 400 บาท , ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท

2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา

1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร

ตอบ  วิชาชีพ    (Profession)    เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ    ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น    และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ  โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อน  ที่จะประกอบวิชาชีพต่างกับอาชีพ (Career)  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ  โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น


2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
ตอบ    จะเป็นหลักประกันและคุ้มครองให้ผู้รับบริการทางการศึกษาได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น

3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
ตอบ   1. ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ  โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด  ผู้ไม่ได้รับอนุญาต  หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษาจะได้รับโทษตามกฎหมาย
     2.  ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ  รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถและความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
     3.  บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ  มีสิทธิ กล่าวหา    หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพและบุคคลอื่น  มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
     4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย  ชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์  พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้  และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

4.มาตรฐาน วิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ    มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา  คือ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา   ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ  สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ  ตอบสังคมได้ว่าการที่
กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม  นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ  ต้องใช้ความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ 

5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
ตอบ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์จะเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ  จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ  จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้

6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   มีความคล้ายกันเนื่องจากมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนการ พัฒนาฝีมือแรงงานด้วยระบบการฝึกตามความสามารถเป็นรูปแบบการฝึกที่มีการวาง แผนการฝึกระหว่างผู้รับการฝึกและผู้สอนโดยออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตาม ความต้องการและความสามารถของผู้รับการฝึก  สภาพการฝึกเน้นการปฏิบัติตามกิจกรรมหรืองานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการ